บันทึกการเดินทางของโครงการ FamSkool 2020-21 ภาคเหนือ Module 1
3 ต.ค. 2566 105

FamSkool เป็นโครงการที่มีแนวคิดมาจากการที่คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวเด็กรู้จักเด็กไม่รอบด้าน เนื่องจากไม่ได้อยู่ด้วยกันตลอดเวลา ดังนั้นการที่จะทำความรู้จักเด็กเพื่อเข้าใจให้รอบด้านมากขึ้น และสนับสนุนพวกเขาให้ก้าวผ่านช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาไปได้อย่างราบรื่นที่สุดนี้ก็จำเป็นที่ต้องอาศัยข้อมูลจากในมุมที่เด็กอยู่ที่โรงเรียนจากคุณครูด้วยเช่นกัน 

 

โครงการนี้จึงเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับการทำงานร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และตัวเด็ก โดยหลักของ 3 ป. คือ

  1. ปรับมุมมอง ทั้งคุณครู ครอบครัว และตัวเด็กว่าการทำงานร่วมกันนี้เป็นไปในเชิงบวก และเชิงรุกได้ โดยการใช้ strengths มาเป็นมุมมองสำหรับมองกันและกัน

  2. เปลี่ยนวิธีการสื่อสาร อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการสื่อสารของแต่ละช่วงวัย ต่างก็มีชุดคำที่ใช้แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการสื่อสารกันแบบ I-You message หรือการตอบสนองต่อพฤติกรรมหรืออารมณ์ในเชิงบวก (ACR)

  3. เปลี่ยนกิจกรรม โดยนำจิตวิทยาเชิงบวก เช่น Character Strengths มาเป็นฐานในการใช้คิดกิจกรรม 

 

โดยเมื่อเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มการจัด FamSkool 2020-21 ครั้งแรก สำหรับ Module 1 นี้ ซึ่งมี 4 โรงเรียนแกนนำจากภาคเหนือเข้าร่วม ประกอบด้วย 

- โรงเรียนเชียงของวิทยาคม (เชียงราย) 

- โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม (เชียงใหม่) 

- วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา (เชียงใหม่)

- และโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง (ตาก)

เข้าร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน

 

FamSkool Module 1 นี้ได้มีการทำงานเรื่องของการปรับมุมมองสู่มุมมองบนพื้นฐานจิตวิทยาเชิงบวก และทดลองเริ่มต้นออกแบบกิจกรรมโดยใช้ Character Strengths ร่วมกับ Positive Family Engagement CANVAS (PFE CANVAS)

 

โดยกระบวนการได้เริ่มต้นจากชวนให้ครูทบทวนความคาดหวัง เป้าหมายในการเข้าร่วม หลังจากการทบทวนเป้าหมายโครงการร่วมกันเรียบร้อยแล้ว จึงมีการแลกเปลี่ยนมุมมอง โดยคุณครูก็ได้เขียนถึงความคาดหวังและสาเหตุของความคาดหวังที่พาให้มารวมตัวกัน ณ ที่แห่งนี้ 

 

 

หลังจากนั้นก็เป็นกิจกรรมที่จะพาคุณครูได้สะท้อนคิดกับตัวเอง นึกย้อนถึงเส้นทางชีวิตกว่าจะมาเป็นครูในวันนี้ จากนั้นก็เข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มย่อยที่มีคุณครูจากต่างโรงเรียน และสุดท้ายก็นำมาสะท้อนกันผ่านกลุ่มใหญ่ด้วยโจทย์ที่ว่า “สิ่งที่ส่งผลต่อสิ่งที่เราเป็น หรือสิ่งที่เราทำในทุกวันนี้มากที่สุด คืออะไร” ซึ่งก็ได้เปิดโอกาสให้คุณครูได้แชร์เรื่องราวให้เพื่อนครูด้วยกันฟังด้วย

 

 

นอกจากประสบการณ์ที่คุณครูได้ร่วมแชร์แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นคำตอบให้กับโจทย์นี้ได้ก็คือ ชุดความคิด (Mindset) โดยในแต่ละคนใช้เป็นกรอบที่จะนำไปมองประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามา ซึ่งถือว่าเป็น step แรกที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ว่าจะทำอะไรต่อไป โดยชุดความคิดนี้จะถูกแบ่งแบบกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท ก็คือ ชุดความคิดแบบตีบตัน (Fixed Mindset) เป็นการมองว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ยาก หรือไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงแล้ว และชุดความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) เป็นการมองว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้

 

โดยเริ่มจากการสังเกตหลุมพรางความคิด เช่น ชอบคิดว่าคนอื่นจะคิดยังไงนะ, คิดว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะตัวเอง, คิดว่าผลที่ฉันได้รับเป็นสาเหตุมาจากคนอื่นแน่ ๆ, คิดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม ๆ วนไป, และภาวะสิ้นหวัง (helplessness) ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าความคิดนั้นเป็น step แรก ที่ส่งผลต่อการกระทำ ดังประโยคที่เรามักจะได้ยินกันอย่างคุ้นหูที่ว่า “ความคิดเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน” ดังนั้นแล้วเราก็จะพาคุณครูไปทำความรู้จักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) ที่เป็นการมองโลกความเป็นจริงอย่างมีความหวัง ที่เป็นกระบวนการป้องกันมากกว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น

 

โดยหลักสำคัญของจิตวิทยาเชิงบวก คือ PERMA 

P = Positive Emotions คืออารมณ์เชิงบวก 10 อารมณ์
E = Engagement คือสภาวะที่รู้สึกว่ามีส่วนร่วมกับสิ่งที่ทำอยู่
R = Positive Relationship คือความสัมพันธ์เชิงบวก
M = Meaning คือคุณค่าในชีวิต สำหรับวัยรุ่นนั้นอาจจะเป็นการมองไปข้างหน้าอย่างมีความหวัง (Optimistic)
A = Accomplishment คือความสำเร็จ ซึ่งในวัยรุ่นอาจจะยังเห็นภาพไม่ชัดนัก จึงให้ความดูที่ความพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมายระยะยาวของเขาแทน (Grit)

 

หลังจากทำความรู้จักในเรื่องของชุดความคิด หลุมพรางความคิด และจิตวิทยาเชิงบวกแล้ว คุณครูก็ได้ลองใช้สิ่งที่เรียนผ่านการทำกิจกรรม Positive Family Engagement 

 

 

ในช่วงบ่ายนี้เริ่มด้วยการทำความรู้จัก 24 จุดแข็งเชิงบวก (Character Strengths) ว่าแต่ละจุดแข็งมีความหมายว่าอย่างไร คนรอบตัวของคนที่มีจุดแข็งเชิงบวกนั้น ๆ จะมีความคิดเห็นหรือความรู้สึกยังไงต่อเขาบ้างนะ และจุดแข็งเชิงบวกเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เมื่อคุณครูได้ทำความรู้จักกับจุดแข็งเชิงบวกนี้แล้ว คุณครูเองก็จะได้ลองดูจุดแข็งในตัวเอง และได้รู้จากอีกมุมมองหนึ่งของเพื่อนครูด้วยกัน นอกเหนือจากนี้ยังได้มีกิจกรรมที่พาให้คุณครูได้ลองนำจุดแข็งเชิงบวกมาปรับใช้กับกิจกรรมเดิมที่เคยทำ หรือสร้างกิจกรรมใหม่เพื่อผลลัพธ์ที่มากกว่าสำหรับการสร้างความร่วมมือกับครอบครัว หรือการนำไปใช้ในการทำความเข้าใจ และมองมุมต่าง ๆ ของเด็กได้รอบด้านและเป็นไปในทางเชิงบวกมากขึ้น หลังจากการเดินทางตลอดทั้งวันมานี้ก็ปิดท้ายวันแรกด้วยการเข้าร่วมชมภาพยนตร์ “The little star on earth” ภาพยนตร์อินเดียที่พาเราไปสำรวจการเติบโตของเด็กผ่านการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบแฝงไปด้วยแง่คิดที่น่าสนใจไปพร้อม ๆ กัน

 

 

FamSkool 2020-21 ภาคเหนือ Module 1 ได้เดินทางมาสู่วันที่สอง ในช่วงเช้าหลังเริ่มต้นด้วยการสะท้อนคิดจากภาพยนตร์ที่ได้ชมไปเมื่อคืนโดยอิงจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปจากเมื่อวาน ซึ่งคุณครูในแต่ละกลุ่มนั้นก็หยิบยกทั้งเรื่องของชุดความคิด และจิตวิทยาเชิงบวกในเรื่องต่าง ๆ มาอธิบายได้อย่างครอบคลุมเนื้อหาของภาพยนตร์เลยทีเดียว หลังจากนั้นการเดินทางก็เข้มข้นมากขึ้นเพราะเป็นวันที่คุณครูในโรงเรียนเดียวกันจะร่วมด้วยช่วยกันระดมความคิดในการออกแบบการทำงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างครอบครัวและโรงเรียนบนพื้นฐานจิตวิทยาเชิงบวก ผ่าน Positive Family Engagement CANVAS (PFE CANVAS) ที่ทาง Life Education (T้hailand) ได้พัฒนาร่วมกับ Outermost เพื่อเป็นตัวช่วยในการเรียบเรียงชุดความคิดในการทำงานร่วมกับครอบครัวบนฐานจิตวิทยาเชิงบวก และการเล่าเรื่องที่ทรงพลัง (powerful story telling) อันจะสามารถนำไปสู่การสร้างความร่วมมือระหว่างครู ครอบครัว และส่วนนโยบายของโรงเรียนในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

 

 

การเดินทางสำหรับ Module 1 สิ้นสุดด้วยการที่คุณครูได้เริ่มมีแผนงานของตัวเองใน CANVAS ที่จะนำไปทำต่อให้เกิดขึ้นจริง นอกจากนี้คุณครูแต่ละท่านยังได้ฝากข้อความถึงความประทับใจ และสิ่งที่อยากให้ซัพพอร์ตหรือสิ่งที่คุณครูอยากรู้เพิ่มเติมกับพวกเราไว้ด้วย ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูล และเตรียมความพร้อมของกิจกรรมให้สอดคล้องกับความคาดหวังของคุณครูให้ได้มากที่สุดสำหรับครั้งถัดไป แล้วพบกันใน FamSkool 2020-21 ภาคเหนือ Module 2 และสำหรับโรงเรียนที่สมัครใน 3 ภาคที่เหลือเตรียมอดใจรออีกนิดไม่เกิน สิงหาคมนี้เราจะมาร่วมสร้างการเดินทางบทใหม่ในการทำงานร่วมกับครอบครัวไปด้วยกันครับ 

 

“เพราะความเป็นครอบครัว…ไม่ได้หยุดแค่ที่รั้วโรงเรียน”

 

 

เขียนโดย: อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ (สมิต) _ Life Education (Thailand) ร่วมด้วย ชนันญา น้อยสันเทียะ

ภาพประกอบโดย: นางสาวดลพร นิธิพิทยปกฤต

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
...
Famskool จากโรงเรียนสู่ครอบครัวเชิงบวก
“เพราะตระหนักว่าการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึนในโรงเรียนเท่านัน แต่ครอบครัว  มีส่วนสาคัญในการช่วยให้เด็กค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง” หนังสือ Famskool จากโรงเรียนสู่ครอบครัวเชิงบวก เป็นหนังสือประมวลประสบการณ์จากโครงการ FamSkool (FamSkool Positive Family Engagement Project) อัดแน่นกว่า 20 เรื่องราวบันดาลใจ จากคุณครูที่เข้าร่วมโครงการ เริ่มจาก   1. การปรับมุมมอง 2. การเปลี่ยนวิธีการสื่อสาร 3. การปลูกกิจกรรม บนพื้นฐานของแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก   ในหนังสือเล่มนี้จะนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาเชิงบวก ที่สามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนได้มากขึ้นเช่นกันด้วย ดาวโหลดได้เลยที่นี่ Book-FamSkoolDownload   “เมื่อครูมีมุมมองเชิงบวกต่อเด็ก เชื่อว่าเด็กทุกคนมีคุณค่าบางอย่างในตัวเอง เป็นผู้ชี้แนะให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง ชี้ให้เด็กเห็นทางเลือกที่ดีหลากหลายทาง ให้เด็กได้เลือกทำด้วยตนเอง บรรยากาศเช่นนี้ ทำให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการเรียนรู้ทั้งสำหรับครูและนักเรียน” ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์คุณครูในหนังสือ Famskool จากโรงเรียนสู่ครอบครัวเชิงบวก
3 ต.ค. 2566
104
...
บันทึกการเดินทางของโครงการ FamSkool 2020-21 ภาคเหนือ Module 1
FamSkool เป็นโครงการที่มีแนวคิดมาจากการที่คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวเด็กรู้จักเด็กไม่รอบด้าน เนื่องจากไม่ได้อยู่ด้วยกันตลอดเวลา ดังนั้นการที่จะทำความรู้จักเด็กเพื่อเข้าใจให้รอบด้านมากขึ้น และสนับสนุนพวกเขาให้ก้าวผ่านช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาไปได้อย่างราบรื่นที่สุดนี้ก็จำเป็นที่ต้องอาศัยข้อมูลจากในมุมที่เด็กอยู่ที่โรงเรียนจากคุณครูด้วยเช่นกัน    โครงการนี้จึงเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับการทำงานร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และตัวเด็ก โดยหลักของ 3 ป. คือ ปรับมุมมอง ทั้งคุณครู ครอบครัว และตัวเด็กว่าการทำงานร่วมกันนี้เป็นไปในเชิงบวก และเชิงรุกได้ โดยการใช้ strengths มาเป็นมุมมองสำหรับมองกันและกัน เปลี่ยนวิธีการสื่อสาร อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการสื่อสารของแต่ละช่วงวัย ต่างก็มีชุดคำที่ใช้แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการสื่อสารกันแบบ I-You message หรือการตอบสนองต่อพฤติกรรมหรืออารมณ์ในเชิงบวก (ACR) เปลี่ยนกิจกรรม โดยนำจิตวิทยาเชิงบวก เช่น Character Strengths มาเป็นฐานในการใช้คิดกิจกรรม    โดยเมื่อเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มการจัด FamSkool 2020-21 ครั้งแรก สำหรับ Module 1 นี้ ซึ่งมี 4 โรงเรียนแกนนำจากภาคเหนือเข้าร่วม ประกอบด้วย  - โรงเรียนเชียงของวิทยาคม (เชียงราย)  - โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม (เชียงใหม่)  - วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา (เชียงใหม่) - และโรงเรียนบ้านแม่ระเมิง (ตาก) เข้าร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน   FamSkool Module 1 นี้ได้มีการทำงานเรื่องของการปรับมุมมองสู่มุมมองบนพื้นฐานจิตวิทยาเชิงบวก และทดลองเริ่มต้นออกแบบกิจกรรมโดยใช้ Character Strengths ร่วมกับ Positive Family Engagement CANVAS (PFE CANVAS)   โดยกระบวนการได้เริ่มต้นจากชวนให้ครูทบทวนความคาดหวัง เป้าหมายในการเข้าร่วม หลังจากการทบทวนเป้าหมายโครงการร่วมกันเรียบร้อยแล้ว จึงมีการแลกเปลี่ยนมุมมอง โดยคุณครูก็ได้เขียนถึงความคาดหวังและสาเหตุของความคาดหวังที่พาให้มารวมตัวกัน ณ ที่แห่งนี้      หลังจากนั้นก็เป็นกิจกรรมที่จะพาคุณครูได้สะท้อนคิดกับตัวเอง นึกย้อนถึงเส้นทางชีวิตกว่าจะมาเป็นครูในวันนี้ จากนั้นก็เข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มย่อยที่มีคุณครูจากต่างโรงเรียน และสุดท้ายก็นำมาสะท้อนกันผ่านกลุ่มใหญ่ด้วยโจทย์ที่ว่า “สิ่งที่ส่งผลต่อสิ่งที่เราเป็น หรือสิ่งที่เราทำในทุกวันนี้มากที่สุด คืออะไร” ซึ่งก็ได้เปิดโอกาสให้คุณครูได้แชร์เรื่องราวให้เพื่อนครูด้วยกันฟังด้วย     นอกจากประสบการณ์ที่คุณครูได้ร่วมแชร์แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นคำตอบให้กับโจทย์นี้ได้ก็คือ ชุดความคิด (Mindset) โดยในแต่ละคนใช้เป็นกรอบที่จะนำไปมองประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามา ซึ่งถือว่าเป็น step แรกที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ว่าจะทำอะไรต่อไป โดยชุดความคิดนี้จะถูกแบ่งแบบกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท ก็คือ ชุดความคิดแบบตีบตัน (Fixed Mindset) เป็นการมองว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ยาก หรือไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงแล้ว และชุดความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) เป็นการมองว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้   โดยเริ่มจากการสังเกตหลุมพรางความคิด เช่น ชอบคิดว่าคนอื่นจะคิดยังไงนะ, คิดว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะตัวเอง, คิดว่าผลที่ฉันได้รับเป็นสาเหตุมาจากคนอื่นแน่ ๆ, คิดซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม ๆ วนไป, และภาวะสิ้นหวัง (helplessness) ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าความคิดนั้นเป็น step แรก ที่ส่งผลต่อการกระทำ ดังประโยคที่เรามักจะได้ยินกันอย่างคุ้นหูที่ว่า “ความคิดเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน” ดังนั้นแล้วเราก็จะพาคุณครูไปทำความรู้จักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) ที่เป็นการมองโลกความเป็นจริงอย่างมีความหวัง ที่เป็นกระบวนการป้องกันมากกว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น   โดยหลักสำคัญของจิตวิทยาเชิงบวก คือ PERMA  P = Positive Emotions คืออารมณ์เชิงบวก 10 อารมณ์E = Engagement คือสภาวะที่รู้สึกว่ามีส่วนร่วมกับสิ่งที่ทำอยู่R = Positive Relationship คือความสัมพันธ์เชิงบวกM = Meaning คือคุณค่าในชีวิต สำหรับวัยรุ่นนั้นอาจจะเป็นการมองไปข้างหน้าอย่างมีความหวัง (Optimistic)A = Accomplishment คือความสำเร็จ ซึ่งในวัยรุ่นอาจจะยังเห็นภาพไม่ชัดนัก จึงให้ความดูที่ความพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมายระยะยาวของเขาแทน (Grit)   หลังจากทำความรู้จักในเรื่องของชุดความคิด หลุมพรางความคิด และจิตวิทยาเชิงบวกแล้ว คุณครูก็ได้ลองใช้สิ่งที่เรียนผ่านการทำกิจกรรม Positive Family Engagement      ในช่วงบ่ายนี้เริ่มด้วยการทำความรู้จัก 24 จุดแข็งเชิงบวก (Character Strengths) ว่าแต่ละจุดแข็งมีความหมายว่าอย่างไร คนรอบตัวของคนที่มีจุดแข็งเชิงบวกนั้น ๆ จะมีความคิดเห็นหรือความรู้สึกยังไงต่อเขาบ้างนะ และจุดแข็งเชิงบวกเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เมื่อคุณครูได้ทำความรู้จักกับจุดแข็งเชิงบวกนี้แล้ว คุณครูเองก็จะได้ลองดูจุดแข็งในตัวเอง และได้รู้จากอีกมุมมองหนึ่งของเพื่อนครูด้วยกัน นอกเหนือจากนี้ยังได้มีกิจกรรมที่พาให้คุณครูได้ลองนำจุดแข็งเชิงบวกมาปรับใช้กับกิจกรรมเดิมที่เคยทำ หรือสร้างกิจกรรมใหม่เพื่อผลลัพธ์ที่มากกว่าสำหรับการสร้างความร่วมมือกับครอบครัว หรือการนำไปใช้ในการทำความเข้าใจ และมองมุมต่าง ๆ ของเด็กได้รอบด้านและเป็นไปในทางเชิงบวกมากขึ้น หลังจากการเดินทางตลอดทั้งวันมานี้ก็ปิดท้ายวันแรกด้วยการเข้าร่วมชมภาพยนตร์ “The little star on earth” ภาพยนตร์อินเดียที่พาเราไปสำรวจการเติบโตของเด็กผ่านการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบแฝงไปด้วยแง่คิดที่น่าสนใจไปพร้อม ๆ กัน     FamSkool 2020-21 ภาคเหนือ Module 1 ได้เดินทางมาสู่วันที่สอง ในช่วงเช้าหลังเริ่มต้นด้วยการสะท้อนคิดจากภาพยนตร์ที่ได้ชมไปเมื่อคืนโดยอิงจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปจากเมื่อวาน ซึ่งคุณครูในแต่ละกลุ่มนั้นก็หยิบยกทั้งเรื่องของชุดความคิด และจิตวิทยาเชิงบวกในเรื่องต่าง ๆ มาอธิบายได้อย่างครอบคลุมเนื้อหาของภาพยนตร์เลยทีเดียว หลังจากนั้นการเดินทางก็เข้มข้นมากขึ้นเพราะเป็นวันที่คุณครูในโรงเรียนเดียวกันจะร่วมด้วยช่วยกันระดมความคิดในการออกแบบการทำงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างครอบครัวและโรงเรียนบนพื้นฐานจิตวิทยาเชิงบวก ผ่าน Positive Family Engagement CANVAS (PFE CANVAS) ที่ทาง Life Education (T้hailand) ได้พัฒนาร่วมกับ Outermost เพื่อเป็นตัวช่วยในการเรียบเรียงชุดความคิดในการทำงานร่วมกับครอบครัวบนฐานจิตวิทยาเชิงบวก และการเล่าเรื่องที่ทรงพลัง (powerful story telling) อันจะสามารถนำไปสู่การสร้างความร่วมมือระหว่างครู ครอบครัว และส่วนนโยบายของโรงเรียนในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้     การเดินทางสำหรับ Module 1 สิ้นสุดด้วยการที่คุณครูได้เริ่มมีแผนงานของตัวเองใน CANVAS ที่จะนำไปทำต่อให้เกิดขึ้นจริง นอกจากนี้คุณครูแต่ละท่านยังได้ฝากข้อความถึงความประทับใจ และสิ่งที่อยากให้ซัพพอร์ตหรือสิ่งที่คุณครูอยากรู้เพิ่มเติมกับพวกเราไว้ด้วย ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูล และเตรียมความพร้อมของกิจกรรมให้สอดคล้องกับความคาดหวังของคุณครูให้ได้มากที่สุดสำหรับครั้งถัดไป แล้วพบกันใน FamSkool 2020-21 ภาคเหนือ Module 2 และสำหรับโรงเรียนที่สมัครใน 3 ภาคที่เหลือเตรียมอดใจรออีกนิดไม่เกิน สิงหาคมนี้เราจะมาร่วมสร้างการเดินทางบทใหม่ในการทำงานร่วมกับครอบครัวไปด้วยกันครับ    “เพราะความเป็นครอบครัว…ไม่ได้หยุดแค่ที่รั้วโรงเรียน”     เขียนโดย: อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ (สมิต) _ Life Education (Thailand) ร่วมด้วย ชนันญา น้อยสันเทียะ ภาพประกอบโดย: นางสาวดลพร นิธิพิทยปกฤต
3 ต.ค. 2566
106