หน้าแรก
เครื่องมือจัดกิจกรรม
สำหรับคุณครู, ผู้ที่ทำงานกับเยาวชน
สำหรับผู้ปกครอง, ผู้ที่สนใจ
คอร์สเรียน
บทความ
ครอบครัว Famskool
เกี่ยวกับเรา
รู้จักเรามากขึ้น
FamSkool’s Framework
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เครื่องมือจัดกิจกรรม
สำหรับคุณครู, ผู้ที่ทำงานกับเยาวชน
สำหรับผู้ปกครอง, ผู้ที่สนใจ
คอร์สเรียน
บทความ
ครอบครัว Famskool
เกี่ยวกับเรา
รู้จักเรามากขึ้น
FamSkool’s Framework
ติดต่อเรา
เข้าสู่ระบบ
คอร์สเรียน FamSkool
พัฒนาความสัมพันธ์รอบตัวเด็กด้วยคอร์สเรียน เติมความรู้และทักษะ ที่ออกแบบมาเพื่อคุณครู ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก “เพราะ เด็ก 1 คน ใช้คนเลี้ยงทั้งหมู่บ้าน”
คอร์สเรียนทั้งหมดของเรา
ทั้งหมด
ครอบครัว
คุณครู
ทุกกลุ่ม
เลือกจาก :
ทั้งหมด
ทั้งหมด
คอร์สเรียนออนไลน์
จบแล้ว
เปิดรับสมัคร
เร็วๆนี้
Online Course: Resilience สอนลูกให้ล้มได้ลุกเป็น
การเลี้ยงดูลูกที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานทางใจ ให้อยู่กับสุขทุกข์ได้ ล้มได้แต่ลุกเป็น ด้วยศาสตร์ทางจิตวิทยาเชิงบวก
1,500
บาท
Growth Mindset Journal Course
บันทึกวิถีคิดเพื่อการเติบโต
ฟรี
บทความที่อยากแนะนำ
ดูบทความทั้งหมด
FamSkool ติดเครื่องมือทรงพลัง ตัวช่วยความสัมพันธ์เด็ก ครอบครัว โรงเรียน
3 พ.ย. 2566
เพราะเชื่อว่าหากจะให้ ‘เด็ก’ จะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์และมีความสุขในการใช้ชีวิต ปัจจัยสำคัญคือต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว หรือครู ดังนั้น FamSkool จึงได้คิดค้นกระบวนการสร้างความอุ่นใจให้ทุกความสัมพันธ์ โดยนำกรอบความคิดในเรื่องจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) มาเป็นหัวใจในการพัฒนาเครื่องมืออันทรงพลัง เพื่อให้เด็ก ครอบครัว และโรงเรียนสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างหลากหลาย อาทิ ‘การ์ด Character Strengths’ การหาอุปนิสัยที่เป็นจุดแข็งเชิงบวกของตนเองและผู้อื่น ‘การ์ดเชื่อมใจ’ ตัวช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ ผ่านชุดคำถามง่าย ๆ ‘บอร์ดปรับใจ’ เกมวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมเด็ก และ ‘Empower: The family tool kit’ ชุดเครื่องมือเสริมพลังครอบครัว ล่าสุดหลังจากเปิดเว็บไซต์ famskool.com นอกจากสาระน่ารู้ต่าง ๆ FamSkool ยังได้คิดค้นชุดเครื่องมือทรงพลังขึ้นมาใหม่ที่มีชื่อว่า Mind Journey และ Small Talk พร้อมนำ การ์ดเชื่อมใจ มาทำเป็นแบบออนไลน์เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงได้ง่าย อยู่ที่ไหนก็ใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้แบบไร้ข้อจำกัด อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ หรือ พี่สมิต ผู้ก่อตั้ง Life Education Thailand เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทั้ง 3 เครื่องมือนี้ว่า เครื่องมือ Mind Journey สร้างขึ้นหลังจากที่ทีม FamSkool ค้นพบว่าครูที่ร่วมกิจกรรมเมื่อกลับไป เขาไม่มีพื้นที่ให้สื่อสาร ไม่มีพื้นที่ให้ระบาย ฮีลใจ เติมกำลังใจ หรือปรึกษาใครได้มากเท่าที่ควร ด้านเครื่องมือ Small Talk ก็เกิดจากข้อค้นพบว่า การคุย การทายใจกันระหว่างครอบครัวกับเด็กนั้นมีประสิทธิภาพและมีพลังมาก ๆ ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี FamSkool จึงหยิบเอาคอนเซ็ปต์นี้มาพัฒนาต่อ ส่วนข้อค้นพบของ การ์ดเชื่อมใจ นั้นมาจากการที่เราต้องการทำให้เกิดพื้นที่ของการพูดคุยกันแบบใส่ใจมากขึ้น ไม่ว่าจะกับครู นักเรียน หรือครอบครัว | Mind Journey เครื่องมือสำหรับแชร์ประสบการณ์ของครู พี่สมิต บอกว่า Mind Journey เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างมา เพื่อให้ครูที่จบการอบรมจากโครงการ FamSkool ไปแล้วได้มีพื้นที่ในการพูดคุยปรึกษากัน มีเครื่องมือช่วยในการตกผลึกทางความคิด แชร์ประสบการณ์ รวมไปถึงมีพื้นที่ปลอดภัยให้ครูได้ฮีลใจทางด้านคุณค่าตนเอง โดยในแพลตฟอร์ม Mind Journey จะมีการให้เลือกการเปลี่ยนแปลงของตนเอง เพราะในหลาย ๆ ครั้งเวลาที่ครูทำการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น แต่หลงลืมที่จะประเมินตนเอง ว่าได้พัฒนาคาแรคเตอร์ตัวไหน ได้พัฒนาความสุขในเรื่องอะไรบ้าง ฉะนั้น FamSkool จึงอยากให้ Mind Journey เป็นแพลตฟอร์มที่ทำงานกับเรื่องของการสร้างพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ครูรู้สึกดีกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในตนเองไปพร้อมกัน ตามคอนเซ็ปต์ที่บอกว่า Feel good when do good “เราพัฒนาเครื่องมือ Mind journey ไม่ใช่แค่ให้ครูใช้เพียงกลุ่มเดียว แต่โรงเรียนก็สามารถเข้าไปสร้างห้อง เพื่อให้เกิดกรุปการเรียนรู้ระหว่างครอบครัวด้วยกันได้ สามารถเข้าไปสร้างกิจกรรม สร้างชุดคำถาม แชร์ประสบการณ์ เพื่อที่จะให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างครอบครัว หรือกับกลุ่มเด็ก ๆ ด้วยกันเองก็สามารถทำได้” | Small Talk เครื่องมือที่ช่วยทำงานกับครอบครัว Small Talk เครื่องมือที่ช่วยถักทอความสัมพันธ์ในครอบครัว ตัวช่วยสำหรับครูและสถาบันการศึกษาในการเปลี่ยนวันพบผู้ปกครองที่แสนน่าเบื่อให้กลายเป็นวันที่เราจะได้ทำความรู้จักกันและกันมากขึ้น โดยเป้าหมายหลักของ Small Talk คือให้ครูและโรงเรียนได้มีเครื่องมือสำหรับสร้างช่วงเวลาและความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ผ่านคำถาม 10 ข้อ ในรูปแบบของเกมเดาคำตอบ พร้อมยังมีแดชบอร์ดแสดงคะแนนในตอนท้ายที่สุด เพื่อสร้างแรงจูงใจที่อยู่บนอารมณ์เชิงบวก “Small Talk เป็นเครื่องมือ Interactive ที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อที่จะเป็นตัวช่วย เวลาที่ครูจัดประชุมผู้ปกครอง แทนที่จะให้พ่อแม่เสียเวลาทั้งวันเพื่อมานั่งฟังว่าลูกตัวเองเรียนเก่ง เรียนดี หรือมีพฤติกรรมอย่างไรแล้วก็กลับไป เราเปลี่ยนมาเป็นทำกิจกรรมร่วมกันให้เด็กกับครอบครัวได้คุยเรื่องเล็ก ๆ ตั้งคำถามทายกันในเรื่องง่าย ๆ แบบเป็นเกมฟิลลิ่งคล้าย ๆ คาฮูท คือการเช็ตกิจกรรมหรือชุดคำถามขึ้นมา โดยครูหรือโรงเรียนสามารถเข้าไปเลือกชุดคำถามได้จาก Small Talk จะเอากี่คำถามก็สามารถเลือกได้ ซึ่งหลังทำกิจกรรมเสร็จคะแนนก็จะถูกโชว์ขึ้นเลย” | การ์ดเชื่อมใจออนไลน์ เครื่องมือที่จะช่วยให้เกิดเสียงพูดคุยระหว่างเด็ก ครอบครัว และโรงเรียน อีกหนึ่งเครื่องมือที่อยากนำเสนอก็คือ ‘การ์ดเชื่อมใจ’ หลายคนอาจจะเคยเห็น เคยได้ยิน หรือแม้กระทั่งเคยเล่นผ่านกิจกรรมที่ FamSkool จัดทำ ซึ่งหลังจากเปิดเว็บไซต์ ทางพี่สมิตและทีมเห็นว่าเครื่องมือตัวนี้สามารถปรับใช้ในโลกออนไลน์ได้ การ์ดเชื่อมใจแบบฉบับออนไลน์ จึงเกิดขึ้น “การ์ดเชื่อมใจ เป็ดการ์ดที่ออกแบบมาบนพื้นฐานของการทำให้เกิดพื้นที่ของการพูดคุยกันแบบใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็น ครูกับเด็ก เพื่อนครูด้วยกันเอง โรงเรียนกับครอบครัว หรือระหว่างเด็กกับเด็ก ให้มีพื้นที่พูดคุยกันที่ไม่ได้จบบทสนทนาเร็วเกินไป สามารถขยายบทสนทนา ขยายความใส่ใจซึ่งกันและกันได้ ซึ่งตรงนี้แหละคือคีย์ของการ์ดเชื่อมใจ มันเป็นเหมือนการป้องกันการเกิดเรื่องใหญ่ ๆ เพราะว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาได้คุยกันเรื่องเล็ก ๆ โอกาสที่จะเกิดเรื่องใหญ่ ๆ ตามมาก็น้อยลง เพราะพวกเขามีพื้นที่ให้พูดคุยปลดปล่อยได้ เวลาไปกินข้าวด้วยกันก็รู้ว่าใครอึดอัดกับอาหารประเภทไหน เขาก็จะได้ไม่ได้มีความสัมพันธ์เชิงลบกัน เห็นไหมว่าแค่รู้ว่าอีกคนชอบอาหารประเภทไหนก็เพิ่มความสัมพันธ์ในเชิงบวกได้แล้ว” | คาดหวัง สร้างประโยชน์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง พี่สมิต เสริมว่า ทีมงานหวังว่านวัตกรรม เครื่องมือ และเกมต่าง ๆ ของ FamSkool จะถูกนำไปใช้ในรูปแบบที่หลากหลายและจำนวนมากที่สุด พร้อมคาดหวังว่าจะมีหลายพันชีวิตที่ได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ “เมื่อไหร่ก็ตามที่ครูหยิบเครื่องมือที่ไม่ซับซ้อน ทันสมัย เหมาะสมกับวัยทั้ง 3 ตัวนี้ไปใช้ สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปไม่ใช่แค่เด็กและครอบครัวของนักเรียน แต่ตัวครูเองก็จะเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อเด็กไปด้วย เพราะว่าครูจะได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยิน ได้เห็นเรื่องเล็ก ๆ ได้เข้าใจในความเป็นมนุษย์ จนนำไปสู่การสร้างพื้นที่ของความเป็นมนุษย์ให้เกิดขึ้นในห้องเรียน” เครื่องมือและความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เกิดการสื่อสารเชิงบวก และสร้างประสบการณ์เชิงบวกระหว่างเด็ก ครอบครัว และโรงเรียน จนนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ได้ไม่มีที่สิ้นสุดโดยมีเด็กเป็นศูนย์กลาง มองเห็นตัวตน เข้าใจ ส่งเสริมให้เขามีความอยากเรียนรู้ และมองเห็นคุณค่าที่มีในตนเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการค้นพบศักยภาพของตนเองต่อไปในอนาคต
Famskool จากโรงเรียนสู่ครอบครัวเชิงบวก
3 ต.ค. 2566
“เพราะตระหนักว่าการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึนในโรงเรียนเท่านัน แต่ครอบครัว มีส่วนสาคัญในการช่วยให้เด็กค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง” หนังสือ Famskool จากโรงเรียนสู่ครอบครัวเชิงบวก เป็นหนังสือประมวลประสบการณ์จากโครงการ FamSkool (FamSkool Positive Family Engagement Project) อัดแน่นกว่า 20 เรื่องราวบันดาลใจ จากคุณครูที่เข้าร่วมโครงการ เริ่มจาก 1. การปรับมุมมอง 2. การเปลี่ยนวิธีการสื่อสาร 3. การปลูกกิจกรรม บนพื้นฐานของแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก ในหนังสือเล่มนี้จะนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาเชิงบวก ที่สามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนได้มากขึ้นเช่นกันด้วย ดาวโหลดได้เลยที่นี่ Book-FamSkoolDownload “เมื่อครูมีมุมมองเชิงบวกต่อเด็ก เชื่อว่าเด็กทุกคนมีคุณค่าบางอย่างในตัวเอง เป็นผู้ชี้แนะให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง ชี้ให้เด็กเห็นทางเลือกที่ดีหลากหลายทาง ให้เด็กได้เลือกทำด้วยตนเอง บรรยากาศเช่นนี้ ทำให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการเรียนรู้ทั้งสำหรับครูและนักเรียน” ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์คุณครูในหนังสือ Famskool จากโรงเรียนสู่ครอบครัวเชิงบวก
กลับไปข้างบน